เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ 3 มงคล คือการอยู่ใน
ปฏิรูปเทส 1 ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน 1
และการตั้งตนไว้ชอบ 1
ด้วยประการฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคล
นั้น ๆ แล้วทั้งนั้น.
จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ

พรรณนาคาถาว่า พาหุสจฺจญฺจ


บัดนี้ ความเป็นพหูสูต ชื่อว่าพาหุสัจจะ ในบทนี้ว่า พาหุสจฺจยฺจ.
ความฉลาดในงานฝีมือทุกอย่าง ชื่อว่า ศิลปะ. การฝึกกายวาจาจิต ชื่อว่า
วินัย. บทว่า สุสิกฺขิโต แปลว่า อันเขาศึกษาด้วยดีแล้ว. บทว่า สุภาสิตา
แปลว่า อันเขากล่าวด้วยดีแล้ว. ศัพท์ว่า ยา แสดงความไม่แน่นอน. คำ
เปล่งทางคำพูด ชื่อว่า วาจา. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล. นี้เป็น
การพรรณนาบทในคาถาว่า พาหุสจฺจญฺจ นี้.
ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. ความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวัตถุ-
ศาสน์ ที่ทรงพรรณนาไว้ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้ทรงสุตตะ สั่งสม
สุตตะ และว่าภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีสุตตะมาก คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ เป็นต้น ชื่อว่าความเป็นพหูสูต. ความเป็นพหูสูตนั้น ตรัสว่า
เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุละอกุศลและประสบกุศลและเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้ง
ปรมัตถสัจจะตามลำดับ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้สดับแล้ว
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละสิ่งมีโทษ เจริญสิ่ง
ที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้.

อีกพระดำรัสหนึ่งตรัสว่า